หลุมขนมครกในแบบของคุณ
การออกแบบที่ดินให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ ทำการปรับปรุงดินและฟื้นคืนระบบนิเวศ
การออกแบบที่ดินให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ ทำการปรับปรุงดินและฟื้นคืนระบบนิเวศ เพื่อการอยู่อาศัย สอดคล้องกับการทำกสิกรรมธรรมชาติ เพื่อผลิตอาหารที่ปลอดภัยในระบบนิเวศที่สมดุล โดยทำให้เหมาะสม “ตามฐานะและกำลังของตนเอง”
น้ำพอ ดินดี มีป่า มีชีวิต มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่าง “สมดุล”
น้ำพอ
หนอง + คันนายกสูง + โคก มีป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง + คลองไส้ไก่ + ประตูน้ำ + ฝาย
ดินดี
มีน้ำ มีชีวิตในดิน ห่มดินด้วยฟางหรือใบไม้ + บำรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก (แห้งชาม น้ำชาม) + ปลูกแฝกเพิ่มน้ำในดิน
ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
ปลูกพืช 5 ระดับ สูง กลาง เตี้ย เรี่ยดิน พืชหัว เป็นไม้กิน ไม้ใช้ ไม้เพื่อทำที่อยู่อาศัย และสร้างความร่มเย็น
กสิกรรมธรรมชาติ
การเพาะปลูกพืชบนระบบนิเวศที่สมดุล ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ใช้สารเคมี ผลิตอาหารจากธรรมชาติ และช่วยสร้างสมดุลนิเวศ ดิน น้ำ ป่า
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มจาก 2 เงื่อนไข ความรู้ + คุณธรรม ที่เป็นองค์ความรู้เรื่องดิน น้ำ ป่า ตามศาตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ทดลองออกแบบหลุมขนมครกด้วยตัวคุณเอง
- โจทย์ข้อที่ 1 คุณรู้หรือไม่ ฝนตกในพื้นที่คุณเท่าไรต่อปี?
TIPs: คำนวณโดยการแปลงขนาดพื้นที่ให้เป็นอัตราส่วน (เมตร)
เพราะปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่เป็นอัตราส่วน มิลลิเมตร/ ปี
1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร
100 ตารางวา (400 ตารางเมตร) = 1 งาน
4 งาน (400 ตารางวา หรือ 1,600 ตารางเมตร) = 1 ไร่
ขนาดพื้นที่........ตารางเมตร ปริมาณฝนในพื้นที่........มิลลิเมตร/ ปี
ตัวอย่าง
ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ = 1,600 ตารางเมตร ปริมาณฝนตกในพื้นที่ 1,200 มิลลิเมตร/ ปี
ใน 1 ปี มีฝนตกในพื้นที่ = 1,600 X 1,200 = 1,920 ลูกบาศก์เมตร
น้ำฝนตกลงในพื้นที่ ปีละ 1,920 ลูกบาศก์เมตร
- โจทย์ข้อที่ 2 จะเก็บน้ำไว้ใช้ปลอดภัยแล้ง ประหยัดค่าน้ำทำอย่างไร?
Q1: คุณมีน้ำฟรี จากฟ้า 1,920 ลูกบาศก์เมตร จะเก็บน้ำไว้ที่ไหน?
A1: ขุดหนองน้ำ นำดินมาทำโคก
*** พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงคำนวณน้ำอย่างละเอียด พบว่าใน 1 ปีมีวันที่ฝนไม่ตก 300 วัน
- และในวันเหล่านั้น น้ำจะระเหยอย่างน้อยวันละ 1 เซนติเมตร ดังนั้น น้ำที่ตกลงมาจะระเหยไปอย่างน้อย 3 เมตร หนองต้องขุดลึกกว่า 3 เมตร
- หนองน้ำเก็บน้ำไว้ได้ เท่ากับ กว้าง X ยาว X สูง
- สมมติหนองน้ำกว้าง 20 เมตรยาว 10 เมตร ลึก 6 เมตร
- = 20 X 10 X 6 เมตร = 1,200 ลูกบาศก์เมตร
- นำดินไปถมเป็นโคกกว้าง 20 ยาว 10 สูง 6 เมตร
- ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เก็บน้ำไว้ใต้ดิน 50% ของปริมาณฝน
** โคกเก็บน้ำได้ครึ่งหนึ่งของหนองน้ำ = 600 ลูกบาศก์เมตร
Q2: ถ้าต้องการเก็บน้ำไว้เพิ่มขึ้นอีก จะเก็บไว้ที่ไหนตามหลัก โคก หนอง นา
A2: ทำนา 1 งาน ยกคันนาสูง 1 เมตร และขุดคลองไส้ไก่ทั่วพื้นที่
นา 1 งาน (400 ตารางวา) ยกคันนา 1 เมตร
= 400 X 1 = 400 ลูกบาศก์เมตร
ขุดคลองไส้ไก่ ขนาด 1 X 0.8 ยาว 30 เมตร = 1 X 0.8 X 30
= 24 ลูกบาศก์เมตร
รวม โคก หนอง นา และคลองไส้ไก่
= 1,200 + 600 + 400 + 24 = 2,224 ลูกบาศก์เมตร
ถ้าออกแบบที่ดินตามนี้จะสามารถเก็บน้ำไว้ได้ 115.83% ของปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ซึ่งสามารถทำได้จากการกั้นประตูน้ำรับน้ำที่หลากมาขณะฝนตกเพิ่มขึ้น
** สามารถแบ่งหนองน้ำเป็นขนาดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ได้
ตัวอย่าง
พื้นที่ 3 ไร่ ในเขตฝนตก 1,400 มิลลิเมตร/ ปี
= 3 X 1,600 X 1,400 = 6,720 ลูกบาศก์เมตร
คำนวณพื้นที่กักเก็บน้ำ กรณีทำการเกษตร
พื้นที่นา 1 ไร่ ปลูกข้าวสำหรับกินในครัวเรือน ยกคันนาสูง 1 เมตร เก็บน้ำไว้ได้ 1,600 ลูกบาศก์เมตร
- หนองพื้นที่ 1 ไร่ ขุดลึก 6 เมตร เก็บน้ำไว้ได้ 9,600 ลูกบาศก์เมตร น้ำระเหย 3 เมตร เหลือน้ำ 3 เมตร = 4,800 ลูกบาศก์เมตร
- โคก นำดินที่ขุดลึก 6 เมตร ไปถมสูงได้ครึ่งหนึ่งคือ 3 เมตร ในพื้นที่กว้าง 2 งาน ฝนตกบนโคก 1,120 ลูกบาศก์เมตร เก็บน้ำใต้ดินเฉลี่ย 50% ของฝนที่ตก = 560 ลูกบาศก์เมตร (น้ำใต้ดินแตกต่างตามลักษณะดิน)
(รวมปริมาตรน้ำฝนที่กักเก็บไว้ได้ในพื นที่ = 6,960 ลูกบาศก์เมตร) = 104%
พื้นที่ 2 งาน (200 ตารางวา เป็นบ้านเรือนและเลี้ยงสัตว์ทางเดิน)
สรุปพื้นที่ตัวอย่าง 3 ไร่ แบ่งเป็น
- ที่นาพื้นที่ 1 ไร่ ยกหัวคันนาสูง 1 เมตร
- ขุดหนองขนาด 1 ไร่ ลึก 6 เมตร
- โคกความสูง 3 เมตร บนพื้นที่ ครึ่งไร่
- พื้นที่ส่วนที่เหลือครึ่งไร่ ทำเป็น ทางเดิน โรงเรือน ฯลฯ
- โจทย์ข้อที่ 3 แล้วจะวาง โคก หนอง นา ไว้ตรงไหนของที่ดิน
หลักการออกแบบพื้นที่: ดูตัวแปร 4 ตัว คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ คน
- ทิศ (ไฟและแสง): สำรวจทิศเหนือ ใต้ ออก ตก และทิศทางการขึ้นของดวงอาทิตย์ที่แน่นอนของพื้นที่นั้น ๆ
TIPs: ควรอยู่ในพื้นที่เพื่อดูการขึ้นของดวงอาทิตย์หลาย ๆ ครั้ง เนื่องจากดวงอาทิตย์ในแต่ละฤดูจะขึ้นไม่เหมือนกัน เช่น บางช่วงกลางคืนสั้น กลางวันยาว บางฤดูตะวันอ้อมข้าว หากไปสำรวจในเดือนนั้น ๆ จะได้ข้อมูลที่ผิดเพี้ยน - ลม: ลมในพื้นที่พัดเข้ามาทางไหน ทั้งลมร้อนและลมฝน ตามหลักของลมนั้น ลมฝนจะพัดมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และลมหนาว หรือลมข้าวเบาพัดมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
TIPs: ควรวางตำแหน่งอาคารบ้านเรือน และลานตากข้าว ลานนวดข้าวไม่ให้ขวางทิศทางลมหนาว และออกแบบบ้านให้มีทิศทางของช่องลมสอดรับกับลมที่พัดมาในแต่ละฤดูกาล เพื่อลดการใช้พลังงานในบ้าน และเพื่อให้บ้านเย็นอยู่สบาย - ดิน: ลักษณะของดิน ความอุ้มน้ำของดิน ดินทราย ดินเหนียว เพื่อวางแผนการขุดหนองน้ำและการปรับปรุงดินให้เหมาะสม โดยใช้หลักการฟื้นฟูดินโดยไม่ปอกเปลือกเปลือยดิน เติมปุ๋ยอินทรีย์แบบแห้ง และชนิดน้ำ หลังการห่มดินด้วยฟาง ใบไม้ หรือหญ้า
TIPs: เลือกใช้ปุ๋ยน้ำให้เหมาะสมกับคุณลักษณะของดิน ช่วยแก้ปัญหาดินได้ - น้ำ: ขุดหนองน้ำ โดยดูทางไหลของน้ำเข้าและออกจากพื้นที่
TIPs: วางตำแหน่งหนองน้ำในทิศที่ให้ลมร้อนพัดผ่านก็จะทำให้บ้านมีความเย็นยิ่งขึ้น ขุดหนองให้มีขอบคดเคี้ยวเพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกพืชขอบริมหนอง และทำตะพักหรือความลดหลั่นของระดับความสูงในหนองให้ไม่เท่ากัน โดยชั้นแรกควรมีความสูงเท่ากับระดับของแสงแดดที่ส่องลงไปถึง เพื่อให้เป็นชั้นที่ปลาสามารถวางไข่ และอนุบาลสัตว์น้ำได้ ปลูกไม้น้ำ หรือพืชน้ำเพื่อให้เป็นแหล่งวางไข่ และที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำ รวมทั้งทำแซนวิชปลา (หญ้าและฟางกองสลับกับปุ๋ยหมักไว้ที่ต้นน้ำสร้างแพลงก์ตอนและไรแดง) เพื่อเพิ่มอาหารให้กับสัตว์น้ำ - โคก: นำดินที่ขุดหนองมาทำโคก โดยให้โคกอยู่ทางทิศตะวันตก ปลูกไม้ใหญ่ไว้บนโคก โดยปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ไม้กลาง เตี้ย เรี่ยดิน และพืชหัว เมื่อต้นไม้สูงพอควรจะสามารถบดบังแสงอาทิตย์ยามบ่ายไม่ให้เข้ามาแผ่ความร้อนในบ้านได้ บ้านจึงร่มเย็นทั้งกลางวันและกลางคืน
- คน: ความต้องการของคนที่เป็นเจ้าของ ต้องการการออกแบบพื้นที่แบบไหน เป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล